สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม SWOT
SWOT
คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นการวิเคราะห์สภาพโรงเรียน หรือสถานศึกษาในปัจจุบัน
เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดจุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
S ย่อมาจาก Strengths
หมายถึง จุดแข็ง (ข้อได้เปรียบ)
W ย่อมาจาก Weaknesses หมายถึง จุดอ่อน
(ข้อเสียเปรียบ)
O ย่อมาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส
(ปัจจัยที่จะส่งผลให้สามารถดำเนินการได้)
T ย่อมาจาก Threats
หมายถึง อุปสรรค (ปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงาน)
หลักการสำคัญของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
หลักการสำคัญ คือ การวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์
2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation
Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน
เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง
ๆ ทั้งภายนอกและภายในสถานศึกษา
ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารของสถานศึกษาทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นภายนอกสถานศึกษา
ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อสถานศึกษาธุรกิจ และจุดแข็ง
จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่สถานศึกษามีอยู่
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์
การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ของสถานศึกษาระดับสถานศึกษาที่เหมาะสมต่อไป
ประโยชน์ของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม
เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ทั้งภายนอกและภายในสถานศึกษาซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของสถานศึกษาอย่างไร
จุดแข็งของสถานศึกษาจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย
ในขณะที่จุดอ่อนของสถานศึกษาจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน
โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายสถานศึกษา
อุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา ผลจากการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมนี้ จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม
ขั้นตอน / วิธีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม
จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้าง ด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค
ของสถานศึกษา ทำให้มีข้อมูล ในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งของสถานศึกษา
และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถ
กำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนของสถานศึกษาให้มีน้อยที่สุดได้
ภายใต้การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม นั้น
จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก สถานศึกษา โดยมีขั้นตอน ดังนี้
การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน (S , W)
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา
จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในสถานศึกษา ทุกๆ ด้าน
เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของสถานศึกษาแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน
คือระบบข้อมูลเพื่อ การบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ
วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร
รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสถานศึกษาด้วย
จุดแข็งของสถานศึกษา(S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในสถานศึกษานั้นเองว่า
ปัจจัยใดภายในสถานศึกษาที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นของสถานศึกษาที่สถานศึกษาควรนำมาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาได้
และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งของสถานศึกษา
จุดอ่อนของสถานศึกษา(W-Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง
ของผู้ที่อยู่ภายในสถานศึกษานั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในสถานศึกษาที่เป็นจุดด้อย
ข้อเสียเปรียบของสถานศึกษาที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป
อันจะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา
การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก (O , T)
ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกสถานศึกษานั้น
สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานศึกษา
เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม
เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของ
ประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี
และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึง
กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ
โอกาสทางสภาพแวดล้อม(O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกสถานศึกษา
ปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์
ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการของสถานศึกษาในระดับมหาภาค
และสถานศึกษาสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้ หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้
อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม(T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกสถานศึกษาปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม
ซึ่งสถานศึกษาจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพสถานศึกษาให้มี
ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้
การประเมินสถานภาพ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถานศึกษาทางการศึกษา
เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม
สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา
ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด
รูปแบบการบริหารงานของสถานศึกษาทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน
เป็นการสำรวจความต้องการของสถานศึกษาชุมชนที่สถานศึกษาทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพของสถานศึกษาทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา
ดังนั้นการประเมินสถานภาพสถานศึกษาจะทำให้เราทราบว่าปัจจุบันสถานศึกษาเป็นอย่างไร มีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นโอกาส และอุปสรรค มีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนในด้านใด เพื่อที่จะเป็นข้อมูลในการจัดวางทิศทางสถานศึกษา ในการประเมินจะใช้กระบวนการทางสถิติเป็นเครื่องมือในการประเมินและนำเสนอการประเมินสภาพสถานศึกษา
เป็นการเลือกวิธีการทำงานอย่างมี ทิศทางที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น