วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 4 ตอบคำถามท้ายบท บทที่ 2

แบบฝึกหัดทบทวน
เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือ คณะราษฎร ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้าส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่ง กฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา, 2475, 536)
2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช
2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบหมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบารุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
(ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)
3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 34 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปรปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรม และไม่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรสถานศึกษา หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 52 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรม ชั้นประถมศึกษาภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2517
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 41 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นมูลฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ บุคคลย่อมมีเสภาพในการศึกษาอบรม เมื่อไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษา
มาตรา 42 เสรีภาพในวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมือง (ราชกิจจานุเบกษา, 2517, 20)
รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ
มาตรา 35 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการศึกษาอบรม เมื่อไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับและกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษา (ราชกิจจานุเบกษา, 2521, 13)
4.  ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490   ประเด็นที่ 2  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 -2517  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย
ตอบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ
                ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา, 2475, 536)
ประเด็นที่ 2  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 -2517
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
ดังข้อมูลข้างต้น มีความแตกต่างกัน  คือ      รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490  มีประเด็นทีเกี่ยวข้องกับการศึกษาเพียงมาตราเดียวเท่านั้น  นั่นคือ มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา, 2475, 536)
แต่รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหลายมาตารา  นั่นคือ      มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย   มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำ เนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ  มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์
5.  ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534   ประเด็นที่ 4  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย   
ตอบ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 
หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ
มาตรา 35 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการศึกษาอบรม เมื่อไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับและกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษา (ราชกิจจานุเบกษา, 2521, 13)
รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550
                ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 42 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
มาตรา 43 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกากับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ (ราชกิจจานุเบกษา, 2540, 9-10) 
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง  อธิบาย 
ตอบ ประเทศไทยของเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนในสังคมจะต้องได้รับโอกาสในการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง  และในสังคมมีบุคคลหลากหลายรูปแบบ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านฐานะ  ร่างกาย  สิ่งแวดล้อม แต่บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา  ทำให้รัฐต้องกำหนดนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคลได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน 
7.  เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติจงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2550  หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชาวไทย  มาตรา 50 ที่ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ไม่ขัด ต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
            บุคคลที่ปฏิบัติตามเงื่องไขหรือตามที่กฎหมายบัญญัติจะได้รับการคุ้มครอง  แต่บุคคลทีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะไม่ได้รับการคุ้มครอง
8.  การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหาก เราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม  และถ้าเปิดโอกาสให้ ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย    
ตอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550   รัฐส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในการเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น  ทำให้เป็นการพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน  บุคคลจะได้รับการศึกษาทั่วถึงมากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาและประชาชนได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องคือฉบับที่ 5-10
9.  เหตุใดการจัดการศึกษา  รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน  ส่งเสริมความเสมอ ภาคทั้งหญิงและชาย  พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว  และความเข็มแข็งของชุมชน  สังเคราะห์ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส  จงอธิบาย 
ตอบ ทุกคนย่อมได้รับการจัดการศึกษาไม่ว่าจะเด็กและเยาวชน  ผู้ยากไร้  ผู้พิการ  ทุพพลภาพต้องได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน เพราะทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน ถึงแม้ว่าแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน  แตกต่างทางฐานะ  ร่างกาย บุคลิกภาพ เพศ วัยก็ตาม รัฐต้องการเห็นคนทุกคนทีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและช่วยเหลือตนเองได้
10.  ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  มีผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง  จงอธิบาย

ตอบ มีผลต่อประเทศเป็นอย่างมาก อย่างที่เห็นว่านโยบายระดับประเทศ รัฐบาลหลายยุคยังให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาในระดับรองเมื่อเทียบกับปัญหาด้านอื่นๆ ในความเป็นจริงแล้ว การศึกษาถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วนของประเทศที่ต้องพัฒนา แต่มีข้อที่น่าสังเกตว่าผู้ที่จะมารับผิดชอบกำกับดูแลการศึกษาของชาติกลับกลายเป็นว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีความรู้มีความเข้าใจงานด้านการศึกษา หรือมีความรู้และประสบการณ์ทางด้านการศึกษาไม่มากนัก แต่เมื่อมารับผิดชอบงานทางด้านการศึกษากลับไม่สามารถกำกับดูแล และกำหนดนโยบายด้านการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย และนโยบายการศึกษาของชาติได้ ดังนั้น จึงส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปการศึกษาและแนวทางการปฏิบัติกับบุคลากรทางการศึกษาทั้งๆที่ในวงการศึกษามีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอย่างมากมายทำให้การศึกษาของไทยไม่พัฒนาเท่าที่ควร   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น