วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

สอบปลายภาค

1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ ศีลธรรม คือ ศีล 5 และธรรม 5 เป็นกฎเกณฑ์ของสังคมระดับต้นสำหรับให้สมาชิกสังคมประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุข ไว้วางใจกันได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่เบียดเบียนกัน
 จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนของความประพฤติที่มนุษย์ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา จะเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะสังคมเท่านั้น
กฎหมาย คือ มีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร ประชาชนสามารถรับรู้ได้ว่าสิ่งใดสามารถทำได้ และสิ่งใดไม่สามารถทำได้
ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนกันในเรื่องที่ตั้งกฎขึ้นมาเพื่อการอยู่ร่วมกันตั้งแต่ระดับกลุ่มคน สังคม และประเทศ ให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แต่จะมีความแตกต่างในการลงโทษ หากผิดศีลธรรมจะโดนลงโทษด้วยกฎแห่งกรรม ผิดจารีตประเพณีจะโดนลงโทษด้วยกลุ่มคนที่ตั้งกฎร่วมกันมา เช่น ผู้ใหญ่บ้าน และหากผิดกฎหมาย ก็จะโดนลงโทษตามความหนักเบาของการกระทำ ตั้งแต่เสียค่าปรับไปจนถึงขั้นประหารชีวิต
2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ตอบ คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมาย มีการจัดเป็นกระบวนวิธีการต่างๆทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ และการยกเลิกกฎหมาย เช่น หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายสูงกว่าไม่ได้ และอาจถูกยกเลิกไปกฎหมายนั้นไป
รัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด  พระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกา  กฎกระทรวง เทศบัญญัติ
3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป"จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
ตอบ ควรจะจัดให้มีคอร์สการอบรมจิตวิทยา ดึงจิตวิญญาณของครูออกมาในทุกเทอมๆ เพราะตอนที่ทุกคนไปเป็นครูใหม่ๆยังมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูสูงมาก ในการจัดอบรมทุกๆที่ สิ่งที่เกิดกับทุกคนหลังจากกลับมาแล้วจะมีไฟในตัวอยู่แค่ 1 สัปดาห์เท่านั้น ที่เหลือผู้ที่เข้าอบรมต้องมาต่อยอดเอง ซึ่งการได้เข้าอบรมบ่อยๆก็จะเหมือนเป็นการตอกย้ำถึงจิตวิญญาณครูมากขึ้น แล้วปัญหาเหล่านี้ก็จะค่อยๆลดลง ครูก็มนุษย์คนหนึ่งที่มีทุกอารมณ์เจอปัญหาจากหลายทาง ยกตัวอย่าง คน 3 คนฟังเรื่องเดียวกันก็เข้าใจ 3 แบบ จึงไม่อยากให้ผู้อ่านตัดสินผ่านแค่ตัวอักษรในข่าวเอาเองว่าครูในข่าวนี้เป็นคนไม่ดี
                                                                                                                         
4.ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (คะแนน)
ตอบ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรคของตัวเราเอง
จุดแข็ง (S)        
1.ทำให้คนรอบข้างมีความสุขเมื่อเรามีความสุข
2.พูดให้กำลังใจคน
3.อัธยาศัยดี
4.เปลี่ยนเรื่องไม่ดีในอดีตให้มาเป็นประสบการณ์ที่ดีในปัจจุบัน

จุดอ่อน (w)
1.ใจดีเกินไป
2.ใส่ใจคนรอบข้างมากเกินไป
3.ทำให้คนรอบข้างมีเครียดเมื่อเราเครียด
4.ขี้ลืม
5.ชอบกังวล

โอกาส (o)
1.มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งเพื่อน กลุ่มชมรม และที่ทำงาน
2.มีทักษะการเข้าสังคมที่แตกต่างกัน
3.เห็นโลกกว้างเร็วกว่าเพื่อนที่เรียนแค่อย่างเดียว

อุปสรรค (T)
1.ไม่มั่นใจ
2.ชอบมองเห็นอุปสรรคก่อนความสำเร็จ
3.บางครั้งใจไม่กล้าพอที่จะรับประสบการณ์ใหม่ๆ
4.บางครั้งบริหารเวลาในการเรียน ทำงาน และการทำชมรมไม่ทัน

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (คะแนน)
ตอบ ข้อดี อาจารย์มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยให้ข้อมูล Guild line ให้นักศึกษาไปศึกษาและหาข้อมูลที่สงสัยเพิ่มเติม แล้วค่อยมา Discuss ในห้องเรียนและได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวเสริมที่ทำให้รู้สึกว่าเป็นการเรียนที่ง่ายขึ้น และประหยัดเงินในการปริ้นงานส่ง
                ข้อเสีย อาจารย์ยังไม่มีการ Feedback กับงานที่นักศึกษาส่งไป เพื่อนักศึกษาจะได้กลับมาแก้และพัฒนาให้ถึงตามเกณฑ์ที่อาจารย์กำหนดไว้

อนุทินที่ 8

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม SWOT

SWOT คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นการวิเคราะห์สภาพโรงเรียน หรือสถานศึกษาในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดจุดอ่อน โอกาส อุปสรรค หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต SWOT  เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
S              ย่อมาจาก  Strengths            หมายถึง    จุดแข็ง  (ข้อได้เปรียบ)
W            ย่อมาจาก  Weaknesses        หมายถึง    จุดอ่อน (ข้อเสียเปรียบ)
O             ย่อมาจาก  Opportunities     หมายถึง    โอกาส (ปัจจัยที่จะส่งผลให้สามารถดำเนินการได้)
T             ย่อมาจาก  Threats                หมายถึง    อุปสรรค  (ปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงาน)
หลักการสำคัญของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 
หลักการสำคัญ คือ  การวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก    ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT  จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรารู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขาชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค    การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในสถานศึกษา ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารของสถานศึกษาทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกสถานศึกษา ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อสถานศึกษาธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่สถานศึกษามีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ของสถานศึกษาระดับสถานศึกษาที่เหมาะสมต่อไป

ประโยชน์ของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ทั้งภายนอกและภายในสถานศึกษาซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของสถานศึกษาอย่างไร จุดแข็งของสถานศึกษาจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนของสถานศึกษาจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายสถานศึกษา อุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา  ผลจากการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมนี้  จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม
 ขั้นตอน / วิธีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้าง ด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ของสถานศึกษา ทำให้มีข้อมูล  ในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งของสถานศึกษา และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถ กำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนของสถานศึกษาให้มีน้อยที่สุดได้ ภายใต้การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม นั้น จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก สถานศึกษา โดยมีขั้นตอน  ดังนี้
การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน  (S , W)
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในสถานศึกษา ทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของสถานศึกษาแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อ การบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสถานศึกษาด้วย
จุดแข็งของสถานศึกษา(S-Strengths)  เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในสถานศึกษานั้นเองว่า ปัจจัยใดภายในสถานศึกษาที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นของสถานศึกษาที่สถานศึกษาควรนำมาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งของสถานศึกษา
จุดอ่อนของสถานศึกษา(W-Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในสถานศึกษานั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในสถานศึกษาที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบของสถานศึกษาที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา
การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก  (O , T)
ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกสถานศึกษานั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานศึกษา เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของ ประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึง กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ
โอกาสทางสภาพแวดล้อม(O-Opportunities)  เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกสถานศึกษา ปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการของสถานศึกษาในระดับมหาภาค และสถานศึกษาสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้ หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้
                อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม(T-Threats)  เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกสถานศึกษาปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งสถานศึกษาจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพสถานศึกษาให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้
การประเมินสถานภาพ

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถานศึกษาทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานของสถานศึกษาทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการของสถานศึกษาชุมชนที่สถานศึกษาทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพของสถานศึกษาทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา ดังนั้นการประเมินสถานภาพสถานศึกษาจะทำให้เราทราบว่าปัจจุบันสถานศึกษาเป็นอย่างไร  มีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นโอกาส  และอุปสรรค  มีปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนในด้านใด  เพื่อที่จะเป็นข้อมูลในการจัดวางทิศทางสถานศึกษา  ในการประเมินจะใช้กระบวนการทางสถิติเป็นเครื่องมือในการประเมินและนำเสนอการประเมินสภาพสถานศึกษา เป็นการเลือกวิธีการทำงานอย่างมี  ทิศทางที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

อนุทินที่ 7

1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ตอบ       เหตุผล ที่ต้องประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 กฎหมายบังคับบิดา มารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในการดูเเลภาคบังคับจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กอายุย่างเข้า 7 ปีเข้าเรียนในสถานศึกษาจนอายุย่างเข้า 16 ปี เว้นเเต่จะสอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมกับกฎหมายดังกล่าว
2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
ก. ผู้ปกครอง  ข.เด็ก  ค.การศึกษาภาคบังคับ  ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตอบ        ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดา มารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ รวมถึงบุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กรับใช้การงาน
              เด็ก หมายความว่า เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
              การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า  การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
             องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษ อย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็ก เข้าเรียน
ตอบ       เจ้าหน้าที่รายงานต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่พบเด็กในสถานที่นั้นเพื่อดำเนินการให้เด็กเข้าเรียนในสถานศึกษานั้น เเละหากผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้าเรียนตามที่กฎหมายกำหนดนั้นต้องระวางโทษไม่เกินหนึ่งพันบาท
4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงศึกษาธิการ

ตอบ       พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. ๒๕๔๖ ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖เป็นปีที่ ๕๘ ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารการกระทรวง ศึกษาธิการคือ  พระราชบัญญัติได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ องค์กรต่าง ๆ  ในการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ โดยการกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 6 คำถามท้ายบท บทที่ 3

แบบฝึกหัดทบทวน

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. นักศึกษาอธิบายคานิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542
. การศึกษา
     ตอบ การศึกษาหมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
     ตอบการศึกษาขั้นพื้นฐานหมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา

. การศึกษาตลอดชีวิต
     ตอบการศึกษาตลอดชีวิตหมายความว่า การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย

. มาตรฐานการศึกษา
    ตอบสถานศึกษาหมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชน

. การประกันคุณภาพภายใน

     ตอบการประกันคุณภาพภายในหมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กากับดูแลสถานศึกษานั้น
 . การประกันคุณภาพภายนอก                
     ตอบการประกันคุณภาพภายนอกหมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา  
. ผู้สอน
     ตอบผู้สอนหมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ

. ครู                                                                                                                
      ตอบครูหมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

. คณาจารย์                

      ตอบคณาจารย์หมายความว่า บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน

 . ผู้บริหารสถานศึกษา
      ตอบผู้บริหารสถานศึกษาหมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน

. ผู้บริหารการศึกษา
      ตอบผู้บริหารการศึกษาหมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป

. บุคลากรทางการศึกษา
      ตอบบุคลากรทางการศึกษาหมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ 

2. ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้างให้อธิบาย
    ตอบ  ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา (มาตรา 6)
การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข หลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ (มาตรา 8)(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
 3. หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
     ตอบ หลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ (มาตรา 8)
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง 

4. การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
    ตอบ การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้ (มาตรา 9)
(1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2) มีการกระจายอำนาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น(3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5) ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6) การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
    ตอบ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
มีสาระสาคัญของหมวดนี้ มีดังนี้ (มาตรา 10-14) (คาหมาน คนไค, 2543, 31)
1. การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง (Education for all) มีคุณภาพ (Educational Quality) และไม่เก็บค่าใช้จ่าย (Free Education) (สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2542, 17)2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
3. พ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน สถานประกอบการ สถาบันศาสนาและสถาบันอื่น ๆ มีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไป ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกำหนด
 

6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ ระบบการศึกษา (มาตรา 15-21) มีดังนี้
1. การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้ 3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้
2. การจัดการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับคือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับอุดมศึกษา สาหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะเรียกชื่อเป็นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย หรืออย่างอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาระดับอุดมศึกษา มี 2 ระดับคือ ระดับปริญญาและต่ำกว่าปริญญา
3. การศึกษาภาคบังคับมีกำหนด 9 ปี เด็กอายุ 6 ขวบต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงอายุ 15 ขวบ เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์การนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
4. การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา 3 ประเภทคือ (1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (2) โรงเรียน (3) ศูนย์การเรียน
 5. การอาชีวศึกษาให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งสถานประกอบการและองค์กรหรือหน่วยงานอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยอาชีวศึกษา
     ตอบ  หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มีสาระสำคัญของหมวดนี้ มีดังนี้ (มาตรา 10-14) (คำหมาน คนไค, 2543, 31)
1. การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง (Education for all) มีคุณภาพ (Educational Quality) และไม่เก็บค่าใช้จ่าย (Free Education) (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2542, 17)2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ3. พ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน สถานประกอบการ สถาบันศาสนาและสถาบันอื่น ๆ มีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไป ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีตามที่กฎหมายกำหนด 

6. กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงาน โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ ทั้งนี้ ตามทหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง                
      ตอบ การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้ 3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้1. การศึกษาในระบบ คือ การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน2. การศึกษานอกระบบ คือ การศึกษาที่มีการจัดหลักสูตร ระยะเวลาในการเรียนและการวัดและประเมินผลยืดหยุ่นสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้เรียน โดยไม่เป็นการจำกัด อายุ รูปแบบการเรียนการสอนหรือสถานที่3. การศึกษาตามอัธยาศัย คือ เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ

7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
     ตอบ การจัดการศึกษา เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียนตามหลักสูตร และการกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการจากส่วนกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ทั้งสายสามัญศึกษา อาชีวศึกษา รวมถึงการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) และโรงเรียนเอกชนด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยในปัจจุบันนี้เยาวชนเกือบทุกคน ต้องเข้ารับการศึกษาตามระบบ การศึกษาในระบบจึงมีบทบาทโดยตรง และมีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาคนในทุกด้าน ซึ่งรวมถึงการพัฒนาคนสำหรับประชาธิปไตยด้วย ทั้งนี้มิได้หมายถึงเฉพาะการจัดการศึกษาในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดการศึกษาในกลุ่มสาระอื่นๆด้วย ตลอดจนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมอื่นๆของสถานศึกษาด้วย 

8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
    ตอบ หลักการและแนวคิด พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ต้องการให้มีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ การบริหารงานบุคคล งบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป ไปยังสถานศึกษาเพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัว เป็นอิสระ สามารถบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการบริหารจัดการ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management) นักวิชาการเชื่อว่า การกำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล จะเป็นเครื่องมือสำคัญให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเป็นอิสระ สามารถบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้สะดวกรวดเร็วมีประสิทธิภาพได้ลักษณะนิติบุคคล คือ กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุน เพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเช่นเดียวกันเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นบุคคลสมมติขึ้นให้มีสิทธิและหน้าที่และสามารถทำกิจการใดๆ อันเป็นการก่อนิติสัมพันธ์กับบุคคลอื่นภายใต้วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลนั้น 

9. แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
    ตอบ แนวการจัดการศึกษา (มาตรา 22-25) (คำหมาน คนไค254332-35 ; สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา254712-16)แนวการจัดการศึกษาเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งถือว่าหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้มีหลักยึดดังนี้1. ยึดหลักว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ให้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดและต้องให้แต่ละคนสามารถพัฒนาตามความถนัด ความสนใจและเต็มศักยภาพของเขา2. เนื้อหาสาระของการศึกษาทุกระบบทุกรูปแบบ ต้องเน้นความรู้คู่คุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้ โดยบูรณาการ (ผสมผสาน) ตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา3. เนื้อหาสาระของวิชาความรู้ที่ต้องไปกำหนดหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ 

10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ                  
      ตอบ เห็นด้วยคะ 
11. มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างบ้าง      ตอบ  ทรัพยากรหมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลาง ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของคน วัสดุ เงินหรืออื่นๆที่จะเป็นเครื่องช่วยในการดำเนินงานขององค์การสำเร็จได้ โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะด้านวัตถุมีการพัฒนาสร้างสรรเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่การจัดการศึกษาในโรงเรียนจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครู  เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยปรับประยุกต์ให้เข้ากับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9
(พ.ศ.2545-2549)
ที่ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยพัฒนาสู่สากลบนพื้นฐานของความเป็นไทย เพื่อให้คนมีชีวิตที่ดีงาม เก่งและมีความสุข ให้สังคมไทยเป็นสังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญา สังคมแห่งการเรียนรู้สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทร ภายใต้การบริหารจัดการที่ดี มุ่งเน้นให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการให้มากที่สุดในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย 

12. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร                
      ตอบ  1. จัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัยการทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น (มาตรา 63)                           
              2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม (มาตรา 64)                                                                                              3. ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ (มาตรา 65)                                                                                                                                                                                       4. ให้ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทาได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอ ที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (มาตรา 66)                                                                                                          
                5. ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย (มาตรา 67)                                                                                         6. ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกาไรที่ได้จากการดาเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนรวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อพัฒนาคนและสังคม (มาตรา 68)                                           7. จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (มาตรา 69)