แบบฝึกหัดตอบคำถามท้ายบท
1.
ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ มนุษย์เรามีการอาศัยกันอยู่ในสังคมใหญ่
ที่แต่ละคนก็ต่างคนต่างนิสัยซึ่งการเห็นชอบของบางคนอาจจะไม่ชอบธรรมกับหลายๆคน ยกตัวอย่าง
การอยู่ในกลุ่มเพื่อนซึ่งเป็นกลุ่มเล็กๆก็จะต้องมีกฎประจำกลุ่มร่วมกันว่าสามารถทำอย่างไรได้หรือไม่ได้
แม้แต่ในกลุ่มเล็กๆยังต้องมีกฎ ซึ่งการที่จะอาศัยอยู่ในประเทศเดียวกันก็จำเป็นต้องมีกฎ
ที่ทุกคนในประเทศจะต้องปฏิบัติกันไปในทางเดียวกัน หากไม่มีกฎต่างคนต่างทำตามใจชอบ
จะฆ่าใครก็ได้ จะลักทรัพย์ใครก็ได้
จะทำให้ใครเดือดร้อนก็ได้
ในประเทศก็จะเกิดความวุ่นวายไม่สามารถหาจุดยุติของการเกิดเหตุการณ์แต่ละครั้งได้
ดังนั้นจำต้องมีกฎหมายที่บังคับใช้กันทั่วประเทศ เพื่อการที่จะดำรงอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ กฎไม่ได้มีเพียงข้อห้ามไม่ให้ทำผิดอย่างเดียว
แต่ยังมีการลงโทษสำหรับคนที่ทำผิดด้วย
หากไม่มีกฎหมายคนที่ทำผิดก็จะไม่รู้ว่าตัวเองผิด
ก็จะยังกระทำเช่นเดิมต่อไปเรื่อยๆ
สร้างความเดือดร้อน คนในสังคมก็จะอยู่ร่วมกันไม่ได้
และอาจเกิดปัญหาใหญ่ในอนาคตที่ไม่สามารถหาทางแก้ได้
3.
ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย
ตอบ คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ
ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน
หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ
หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ตอบ การปกครองประเทศให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุขนั้น
รัฐจำเป็นจะต้องออกคำสั่ง ข้อบังคับต่าง ๆ มากมาย คำสั่ง ข้อบังคับเหล่านั้นมิได้เป็นกฎหมายทุกฉบับ
คำสั่ง ข้อบังคับของรัฐที่จะถือว่าเป็นกฎหมายได้นั้น
ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1. มาจากรัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า
ผู้ที่จะออกกฎหมายได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศ
ซึ่งจะเป็นใครนั้นต้องแล้วแต่สถานการณ์หรือรูปแบบการปกครองประเทศไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช
พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง และการออกกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว
2. เป็นคำสั่ง ข้อห้าม
ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม หมายความว่า กฎหมายไม่ใช่คำขอร้อง หรือแถลงการณ์
เมื่อประกาศใช้แล้วประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม
ถึงแม้ว่าจะขัดต่อผลประโยชน์หรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องยอมรับจะปฏิเสธไม่ได้ เช่น
กฎหมายบังคับให้เสียภาษี บังคับให้ต้องรับราชการทหาร เป็นต้น
3. ใช้ได้ทั่วไป หมายความว่า
กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้กับประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็ก
ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง คนรวย คนจน ข้าราชการ
แม้แต่พระมหากษัตริย์หรือเชื้อพระราชวงศ์ก็ตาม
และใช้ได้ทั่วไปทุกพื้นที่ในอาณาเขตประเทศไทย
4. ใช้ได้เสมอไป หมายความว่า
กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้ตลอดไป ไม่ว่าจะเก่าแก่ ล้าสมัย
หรือนานเท่าใดก็ตาม จนกว่าจะมีการยกเลิก
5. มีสภาพบังคับ หมายความว่า
กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ
หรือตกอยู่ในสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ อาจจะหนักบ้าง
เบาบ้างแล้วแต่ความผิดในกฎหมายอาญา สภาพบังคับเรียกว่าโทษ มีอยู่ 5 ประการ คือประหารชีวิต
จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์ ในกฎหมายแพ่ง
สภาพบังคับขึ้นอยู่กับการกระทำความผิด
ง. ประเภทของกฎหมาย
ตอบ การแบ่งประเภทของกฎหมาย
แบ่งกฎหมายออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
-กฎหมายภายใน
ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยองค์กรที่มีอำนาจภายในรัฐหรือประเทศ
-กฎหมายภายนอก
ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นจากสนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
กฎหมายภายใน
แบ่งได้หลายลักษณะตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.
ใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 กฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ
ที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยองค์กรที่มีอำนาจตามกระบวนการนิติบัญญัติ
เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติต่าง ๆ
ฯลฯ เป็นต้น
1.2 กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีต่าง ๆ
ที่นำมาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ
ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่มาของกฎหมาย
ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรค 2 ว่า “เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่จะยกมาปรับแก้คดีได้
ท่านให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น”
2. ใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักในการแบ่ง
แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ได้แก่ กฎหมายต่าง ๆ
ที่มีโทษตามบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
สภาพบังคับทางแพ่งมิได้มีบัญญัติไว้ชัดเจนเหมือนสภาพบังคับทางอาญา
แต่ก็อาจสังเกตได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3.
ใช้บทบาทของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงการกระทำต่าง ๆ
ที่เป็นองค์ประกอบของความผิดโดยทั่วไปแล้วกฎหมายส่วนใหญ่ จะเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ ได้แก่
กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการเอาตัวผู้กระทำผิดไปรับสภาพบังคับ
4.
ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2
ประเภท คือ
4.1 กฎหมายเอกชน ได้แก่
กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกัน โดยที่รัฐไม่เข้ามา
4.2 กฎหมายมหาชน ได้แก่
กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครอง
จึงต้องมีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย
เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข
กฎหมายภายนอก กฎหมายภายนอก
หรือกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ได้แก่ กฎเกณฑ์
ข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่จะปฏิบัติต่อกัน
เมื่อมีความขัดแย้งหรือเกิดข้อพิพาทขึ้น
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ได้แก่
บทบัญญัติที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่ง
เมื่อเกิดความขัดแย้ง ข้อพิพาทขึ้น
จะมีหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาตัดสินคดีความอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ได้แก่ สนธิสัญญา
หรือข้อตกลงเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาซึ่งประเทศหนึ่งยินยอมหรือรับรองให้ศาลของอีกประเทศหนึ่ง
มีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีและลงโทษบุคคลประเทศของตนที่ไปกระทำความผิดในประเทศนั้นได้
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า
ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ ดังที่กล่าวมาข้างต้นในข้อ
1 และ 2
ว่าการที่จะอาศัยอยู่ในประเทศเดียวกันก็จำเป็นต้องมีกฎ
ที่ทุกคนในประเทศจะต้องปฏิบัติกันไปในทางเดียวกัน หากไม่มีกฎต่างคนต่างทำตามใจชอบ จะฆ่าใครก็ได้ จะลักทรัพย์ใครก็ได้ จะทำให้ใครเดือดร้อนก็ได้
ในประเทศก็จะเกิดความวุ่นวายไม่สามารถหาจุดยุติของการเกิดเหตุการณ์แต่ละครั้งได้
ดังนั้นจำต้องมีกฎหมายที่บังคับใช้กันทั่วประเทศ เพื่อการที่จะดำรงอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข
ซึ่งในแต่ละประเทศก็จะมีกฎหมายที่แตกต่างกันไป เพราะสภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน
การดำรงชีวิตและวัฒนธรรมก็แตกต่างกัน
และการที่เราจะเข้าไปอยู่ในประเทศของคนอื่นก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศนั้นไม่สามารถเอากฎหมายของประเทศเราไปใช้ข้ามประเทศของได้
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร
จงอธิบาย
ตอบ
สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือ
การปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด
หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง
มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ กฎหมายอาญาลงโทษผู้กระทำความผิด หากผู้ทำผิดตายลง การสืบสวนสอบสวน การฟ้องร้อง หรือการลงโทษก็เป็นอันระงับลงไป
ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล ดังนั้น
เมื่อผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดตายลง
ผู้เสียหายย่อมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ จากกองมรดกของผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดได้ เว้นแต่จะเป็นหนี้เฉพาะตัวเช่น แดงจ้างดำวาดรูป ต่อมาดำตายลง
ถือว่าหนี้ระงับลง
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ระบบของกฎหมาย
ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 4 ระบบ คือ
1. ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) นักกฎหมายบางท่านเรียกว่า ระบบประมวลกฎหมาย (Code Law) หรือสกุลโรมาโน เยอรมานิค ( Romano Germanic) กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
การศึกษากฎหมายต้องเริ่มจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ
2. ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law) กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับจารีตประเพณี
โดยใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เมื่อตัดสินชี้ขาดแล้วก็กลายเป็นหลักการ เมื่อมีคดีความที่มีลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้นก็ต้องใช้หลักของคดีแรกเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินชี้ขาด
3. ระบบกฎหมายประเทศสังคมนิยม (Socialist Law) คือกฎหมายลายลักษณ์อักษร แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันก็คือ
กฎหมายระบบนี้ต้องการสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในสังคม
ให้ความสำคัญเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
โดยรัฐมีอำนาจเข้าไปจัดการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของประชาชนได้
และรัฐเป็นผู้จัดสวัสดิการให้ ประชาชนไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น
4. ระบบกฎหมายศาสนา (Religon Law) เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่ใช้หลักทางศาสนาเป็นแม่บทในการปกครอง เช่น
กฎหมายศาสนาอิสลามซึ่งใช้อยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง
กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ ข้อบัญญัติศาสนา
การพิจารณาตัดสินคดีความก็จะใช้กฎแห่งศาสนาเป็นหลัก
8.
ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท
แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ แบ่งโดยแหล่งกำเนิด
อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
ประเภทของกฎหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.กฎหมายภายใน มีดังนี้
1.
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเช่นรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ
1.2
กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติเช่นจารีตประเพณีหลักกฎหมายทั่วไป
2.
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18
วรรคแรกบัญญัติโทษทางอาญาเช่นการประหารชีวิตจาคุกกักขังปรับหรือริบทรัพย์สิน
2.2
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆกันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
3.
กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1
กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
3.2
กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
4. กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
4.1
กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนรัฐเป็น
ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมเป็น
เครื่องมือในการควบคุมสังคมคือกฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดระเบียบ
4.2
กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเช่นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.กฎหมายภายนอก
มีดังนี้
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐใน
การที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน เช่น กำหนดข้อบังคับการทำสงครามระหว่างกันและกัน
กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน รัฐต่างรัฐๆ เช่น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับ
ให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอก
ประเทศนั้นได้ เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน กำหนดว่าการกระทำความผิดนอกประเทศ
9.
ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ การจัดลำดับฐานะหรือความสูงต่ำของกฎหมาย โดยมีหลักในการตีความว่า กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า
คือ มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า
หรือมีลำดับชั้นสูงกว่ามิได้ ดังนั้นกฎหมายที่มีศักดิ์หรือลำดับชั้นต่ำกว่า จะต้องออกหรือตราออกมาให้มีข้อความสอดคล้องกับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า แบ่งได้เป็น 7 ชั้น
1. รัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายใดขัดแย้งไม่ได้ โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย
ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง สิทธิเสรีภาพของประชาชน
2. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ตามบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยของประเทศ แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว
4. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้
5. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
2. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ตามบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยของประเทศ แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว
4. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้
5. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
6.
ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น
เช่น เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
เป็นต้น
7. ประกาศคำสั่ง เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ
เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ คำสั่งหน่วยงานราชการ
เป็นต้น
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24
พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า
และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม
และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน
ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือไม่
ตอบ ดิฉันคิดว่ารัฐบาลกระทำผิด
เพราะ การที่ประชาชนมาประชุมกันอย่างสงบเพื่อต้องการเรียกร้องสิทธิของพวกเขา
ไม่ได้ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่ผู้ใด
และการที่รัฐบาลมาประกาศในภายหลังว่าเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมแล้วลงมือทำร้ายประชาชนอีก
ถือว่าเป็นการขัดขวางการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนอย่างมาก
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายการศึกษาคือ
บทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษา
จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับ ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับกฎหมายเพื่อให้
บุคคลประพฤติปฏิบัติตามไปสู่การพัฒนา
คนและสังคมสู่ความเจริญงอกงามธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ เสรีภาพของบุคคลและประเทศชาติ
12.
ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายท่านคิดว่า
เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ หากไม่ศึกษากฎหมายทางการศึกษาไว้ก่อนก็จะไม่รู้ว่าจะต้องใช้สิทธิต่างๆในการประกอบวิชาชีพอย่างไร
และรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น